สรุป IF ฉบับประชาชน
1. ร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้ ต้องใช้พลังงาน
2. พลังงานของร่างกายมาจาก 2 แหล่ง
(A) พลังงานจากอาหารที่กิน (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน)
(B) พลังงานสำรอง (ไขมันในพุงและใต้ผิวหนัง แป้งที่เก็บในตับและกล้ามเนื้อ)
3. เมื่อใดที่กิน ฮอร์โมน“อินซูลิน” จะถูกสั่งให้ออกมา
(A) จะถูกนำไปใช้ ต้องอาศัย “อินซูลิน” พาเข้าเซลล์ร่างกาย
แต่ถ้ากินอาหารมากเกินความต้องการ
(A) จะเก็บสะสมไปเป็น (B) ถ้ามากเกินไป จะก่อโรคตามมา
4. (B) จะถูกสลาย เมื่อไม่มีอาหารจาก (A)
ณ ตอนนี้ “โกรทฮอร์โมน” จะมีบทบาทหลัก สั่งให้เผาผลาญ (B) ออกมาใช้
5. ทั้งความอ้วน และ เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดขึ้นเพราะอินซูลินมากเกินไป จากการกินมาก โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต ทำให้มี (B) สะสมอยู่มาก
เป็นเบาหวานก็เพราะ (B) สะสมไม่ไหวแล้ว ไม่มีที่จะเก็บ เรียกว่า ร่างกายเกิด “ดื้ออินซูลิน” ทำให้น้ำตาลค้างอยู่ในเลือด ไม่มีที่จะไป
6. IF คือการจัดการกับ “เวลา” ในการกิน เพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานสำรอง(B) ออกมาใช้มากขึ้น
7. IF เป็นทางด่วน ในการลดเบาหวาน และไขมัน แต่ยังมีทางหลักสำคัญที่ต้องทำด้วย นั่นคือการฟื้นฟูระบบเผาผลาญ (เพิ่มกล้ามเนื้อ) เพราะเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อหาย การเผาผลาญก็ลดลง
8. IF (Intermittent Fasting)
Fasting ไม่ได้แปลว่าเร็ว แต่แปลว่า ไม่กินอาหาร
IF รวมแล้ว แปลว่า ไม่กินเป็นช่วงๆ
9. อยากให้ร่างกายเอาพลังงานสำรอง (B) มาใช้มากขึ้น ต้องจัดการเวลาการกินให้มีจำนวนชั่วโมงที่ “ไม่กินนานกว่ากิน”
10. ประโยชน์ของ IF ต่อเบาหวาน คือ เมื่อไม่กิน อินซูลินก็ไม่ออกมา เมื่ออินซูลินน้อยลง เซลล์ก็ดื้ออินซูลินลดลง ร่างกายจึงเริ่มกลับมาทำงานได้ปกติ น้ำตาลที่ค้างในเลือดจึงถูกนำมาใช้ได้มากขึ้น เบาหวานจึงลด
11. “โกรทฮอร์โมน” ที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน
จะออกมาสั่งให้สลายไขมัน เมื่อคุณไม่กินอาหาร
12. เมื่อไม่มีอาหาร ร่างกายจึงต้องนำพลังงานสำรอง (B) มาใช้ ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ไขมันในพุงค่อยๆหายไป
13. IF ที่ดีที่สุด คือ IF ที่เข้ากับชีวิตประจำวัน เพราะจะทำได้เรื่อยๆ ไม่ฝืน เริ่มต้นจัดการเวลากิน ให้จำนวนชั่วโมงที่ไม่กิน “มากกว่า” จำนวนชั่วโมงที่กิน ยิ่งจำนวนชั่วโมงไม่กินมาก ยิ่งได้กำไรมาก ก็ลดไวขึ้น แต่ต้องไม่รู้สึกทรมาน
14. ไม่ว่าจะ IF เท่าไหร่ ใน 1 วัน (เลขตัวแรกคือจำนวนชั่วโมงที่ไม่กิน เลขตัวหลังคือจำนวนชั่วโมงที่กิน) 15/9, 14/10, 16/8, 18/6, 20/4, 23/1, 24
ก็ได้ประโยชน์ และกำไรทั้งนั้น ทำมากได้มาก แต่ทำแล้ว ต้องมีความสุข ถึงจะทำได้ “ยั่งยืน”
15. ยกตัวอย่าง เช่น จะทำ IF 18/6
แปลว่าจะจัดเวลาการกินให้อยุ่ใน 6 ชั่วโมงเท่านั้น มื้อแรกอาจเริ่มที่ 8.00 น. มื้อ 2 ตอนเที่ยง มื้อ3 บ่ายสามโมง
หรือ อยากกินแค่ 2 มื้อ มื้อแรก 10.00 น. มื้อสุดท้าย 16.00 น. ก็ได้ จัดการเวลาของตัวเองได้เลย
16. เลือกทำ IF ตามชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเหมือนกันทุกวันก็ได้ เพราะ IF “ยืดหยุ่น” ได้ นี่คือที่มาของ Freestyle Fasting
17. ในเวลาช่วงกิน ไม่ใช่ว่ากินอะไรก็ได้ แต่ให้กินเป็นมื้อเหมือนเดิม ไม่กินจุบจิบ ลดแป้ง งดน้ำตาล เหมือนเดิม
18. ที่สำคัญ ในมื้อที่กิน สารอาหารต้องครบถ้วน “ห้ามอดอาหาร” ห้ามกินน้อย เพราะร่างกายจะลดการเผาผลาญลงแทน ให้กินให้อิ่ม แต่ไม่อิ่มด้วยแป้ง ให้อิ่มด้วยโปรตีน